วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบรนด์ WD หรือ Western Digital ถือเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เข้าจับตลาดฮาร์ดดิสก์พกพาสำหรับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Mac) อย่างจริงจังในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา เช่น รุ่น My Passport Studio และในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซก็ได้รับฮาร์ดดิสก์พกพาที่ใส่วิญญาณแมคมาอย่างเต็มสูบในรุ่น My Book Studio ขนาดความจุ 3TB และ My Passport for Mac ขนาดความจุ 1TB มาทดสอบ การออกแบบและสเปก WD My Book Studio สำหรับการออกแบบ WD My Book Studio รุ่นความจุ 3TB จะยังคงเอกลักษณ์ความเรียบง่ายของ WD ไว้ทั้งหมด และวัสดุที่ใช้ผลิตจะเป็นอะลูมิเนียม มีขนาดอยู่ที่ 165x135x48 มิลลิเมตร พร้อมน้ำหนัก 1.18 กิโลกรัม ด้านพอร์ตเชื่อมต่อด้านหลังจะมี FireWire 400/800 จำนวน 2 พอร์ต ถัดลงมาจะเป็นพอร์ต USB 2.0 จำนวน 2 พอร์ต และช่องเชื่อมต่อ Adapter จ่ายไฟ นอกจากนั้นภายในกล่อง WD My Book Studio ยังได้บรรจุสาย FireWire 400, FireWire 800 และ USB 2.0 มาให้เลือกใช้ได้ตามความต้องการ การออกแบบและสเปก WD My Passport for Mac ขึ้นชื่อว่าเป็นรุ่น “My Passport” เพราะฉะนั้นขนาดของฮาร์ดดิสก์พกพารุ่นนี้จะต้องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เน้นพกพาสะดวก โดยในรุ่นความจุ 1TB ที่ทีมงานไซเบอร์บิซได้รับมาทดสอบจะมีขนาดบอดี้เพียง 21×82.3×110.8 มิลลิเมตร และน้ำหนัก 234 กรัมเท่านั้น สำหรับการเชื่อมต่อ WD My Passport for Mac จะให้พอร์ต USB 2.0 มาเพียง 1 พอร์ตเท่านั้น จุดขาย WD My Book Studio & My Passport for Mac – เป็นฮาร์ดดิสก์ฟอร์แมตเป็นรูปแบบ Mac OS Extended Format (HFS+) – My Book Studio ให้ FireWire 400/800 มาถึง 2 พอร์ต – My Passport for Mac มีซอฟต์แวร์จัดการระบบมาให้ด้านใน ซอฟต์แวร์ WD Drive Utilities & Security สำหรับซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะใช้ในการจัดการระบบฮาร์ดดิสก์ทั้งในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัย (ตั้ง Password) ใช้ในการลบข้อมูล หรือใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้นฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 รุ่นยังรองรับระบบสำรองข้อมูล Time Machine บน MacOS ทดสอบประสิทธิภาพ สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 ตัว ทีมงานได้ทดสอบร่วมกับ MacBook Pro รุ่นล่าสุด ผ่านพอร์ต FireWire 800 สำหรับ WD My Book Studio และ USB 2.0 สำหรับ WD My Passport for Mac ทดสอบประสิทธิภาพ WD My Book Studio Disk Speed Test for Mac คะแนนทดสอบในส่วนเขียนข้อมูล (Write) อยู่ที่ 60.6 MB/s ส่วนการอ่านข้อมูล (Read) จะอยู่ที่ 45.6 MB/s ในส่วนการทดสอบคัดลอกไฟล์ขนาด 19.03GB ผ่าน FireWire 800 พบว่าจะใช้เวลาในการคัดลอกไฟล์จนเสร็จสิ้นประมาณ 6-7 นาทีเท่านั้น ทดสอบประสิทธิภาพ WD My Passport for Mac Disk Speed Test for Mac คะแนนทดสอบในส่วนเขียนข้อมูล (Write) อยู่ที่ 26.5 MB/s ส่วนการอ่านข้อมูล (Read) จะอยู่ที่ 34.3 MB/s ในส่วนการทดสอบคัดลอกไฟล์ขนาด 19.03GB ผ่าน USB 2.0 พบว่าจะใช้เวลาในการคัดลอกไฟล์จนเสร็จสิ้นประมาณ 12 นาที ตอบจุดขายหรือไม่/ฟันธง! ความคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เสียไป? สำหรับจุดขายหลักๆ ของ WD ทั้ง 2 รุ่นนี้คือการเป็นฮาร์ดดิสก์พกพาสำหรับแมคอินทอช โดยตัวฮาร์ดดิสก์ได้รับการฟอร์แมตมาในรูปแบบ HFS+ (แต่ผู้ใช้วินโดว์ก็สามารถใช้งานได้ด้วยการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เป็น FAT หรือ NTFS ใหม่) ทำให้ผู้ใช้ที่เป็นแมคยูสเซอร์สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 รุ่นได้เต็มรูปแบบทันที นอกจากนั้นด้วยเอกลักษณ์ของ WD ในการให้ซอฟต์แวร์จัดการระบบมาให้ ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดการระบบการทำงานของฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 รุ่น เช่น ตั้งรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานไฟล์หรือฟังก์ชันการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์เมื่อพบข้อผิดพลาดได้ ในส่วนราคาของ WD My Book Studio จะมี 3 ช่วงราคาตามความจุ โดยในรุ่น 1TB จะมีราคาอยู่ที่ 4,520 บาท 2TB อยู่ที่ 5,620 บาทและ 3TB อยู่ที่ 7,650 บาท สำหรับราคาของ WD My Passport for Mac จะมี 3 ช่วงราคาเช่นกัน โดยในรุ่น 500GB จะมีราคาประมาณ 3,000 บาท 750GB จะมีราคาประมาณ 3,600 บาท และ 1TB จะมีราคาประมาณ 3,900 บาท แต่ทั้งนี้ถ้ามองในเรื่องเทคโนโลยีแล้วสำหรับฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 รุ่น อาจใช้เทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลที่ล้าหลังกว่าคู่แข่งอยู่มาก เช่น USB ยังใช้เป็นแค่รุ่น 2.0 ในขณะที่ตลาดเป็น 3.0 ซึ่งถ้ามองถึงอนาคตสำหรับฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 รุ่นนี้อาจถือว่าอนาคตไปได้ไม่สวย โดยเฉพาะรุ่น WD My Passport for Mac ที่ให้เพียงพอร์ต USB 2.0 มาพอร์ตเดียว แต่ถ้ามองในมุมของแมคยูสเซอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 รุ่นนี้ พบว่า ในขณะปัจจุบันที่แมคยังคงใช้ USB 2.0 เท่านั้น และผลักดันให้พอร์ต Thunderbolt เป็นพอร์ตรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง (และมีราคาแพง) เพราะฉะนั้นเมื่อลองเปรียบเทียบราคา WD My Book Studio และ WD My Passport for Mac กับการใช้งานร่วมกับแมคแล้วก็พบว่าเป็นไปตามกลไกของเทคโนโลยี โดยเฉพาะรุ่น My Book Studio ที่สามารถเชื่อมต่อพอร์ต FireWire 800 และจากการทดสอบพบว่าสามารถทำงานตัดต่อภาพยนตร์แบบ Realtime ที่ความละเอียด 1080p ได้ดีกว่าการใช้ร่วมกับพีซีมาก ซึ่งสุดท้ายถ้าจะถามทีมงานว่า ฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 รุ่น คุ้มค่าที่จะเสียเงินซื้อไหม ทีมงานก็ขอตอบว่าถ้าผู้อ่านเป็นแมคยูสเซอร์เต็มขั้น ฮาร์ดดิสก์พกพาทั้ง 2 รุ่นจะแสดงประสิทธิภาพได้ดีที่สุด โดยเฉพาะรุ่น My Book Studio แต่ถ้าผู้อ่านเป็นวินโดว์ยูสเซอร์ก็ขอให้มองข้ามฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 รุ่นนี้ไปเสียดีกว่าครับ เพราะในตลาดวินโดว์กับ USB 3.0 ยังมีฮาร์ดดิสก์พกพาที่ราคาใกล้เคียงพร้อมประสิทธิภาพที่ดีกว่าสองรุ่นนี้ให้เลือกซื้ออีกมาก

ทุกวันนี้จะเห็นว่ามีธุรกิจ SMEs เกิดขึ้นมามากมายในประเทศไทย และอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ก็คือพรินเตอร์ที่สามารถตอบรับการใช้งานกับลักษณะของ ธุรกิจขนาดเล็กได้อย่างครอบคลุม อย่างในวันนี้ทีมงานไซเบอร์บิซก็ได้รับพริ้นเตอร์มัลติฟังก์ชันสีใน รุ่น Aficio C242SF มาทดสอบ โดยจุดเด่นของตัวเครื่องนอกจากจะสามารถพิมพ์เลเซอร์ภาพสีได่ C242SF ยังรองรับการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เพื่อใช้สำหรับรับ-ส่ง FAX ได้ภายในตัว การออกแบบและสเปก Ricoh Aficio C242SF สำหรับพริ้นเตอร์เลเซอร์มัลติฟังก์ชันสี Ricoh Aficio C242SF ด้านบอดี้จะเป็นพลาสติกทำให้มีน้ำหนักเบากว่าเลเซอร์มัลติฟังก์ชันระดับ องค์กรรุ่นอื่นๆ โดยขนาดตัวเครื่องมีขนาด 420 x 493 x 476 มิลลิเมตร ในส่วนสเปกโดยรวมของ C242SF จะรองรับความละเอียดงานพิมพ์ตั้งแต่ 600x600 dpi, 1,200x600 dpi และ 2,400x600 dpi สำหรับการบริโภคพลังงานในโหมดประหยัดพลังงานและสแตนบายจะน้อยกว่า 10 วัตต์ ส่วนเมื่อเครื่องทำงานแบบ Full Load จะบริโภคพลังงานน้อยกว่า 1.3 กิโลวัตต์ ด้านสเปกสแกนเนอร์และแฟกซ์ สำหรับสแกนเนอร์จะรองรับทั้งสีและขาวดำที่ความละเอียดสูงสุด 1,200x1,200 dpi  See More..

บทความที่ได้รับความนิยม